ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมคณาจารย์ บุคลากร พร้อมทั้งบุคลากรพื้นที่ต้นแบบอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ และจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือ HIA และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับชุมชน (CHIA)การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ต้นแบบโดยใช้ CHIA เป็นเครื่องมือ กรณีความมั่นคงทางอาหาร พื้นที่ เทศบาลตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ


เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมคณาจารย์ บุคลากร พร้อมทั้งบุคลากรพื้นที่ต้นแบบอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ และจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือ HIA และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ผลการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ต้นแบบเทศบาลตำบลห้วยยาง พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามาร่วมได้แก่ ทต.ห้วยยาง ผู้นำชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มอนุรักษ์/ชมรม เกษตรตำบล ศูนย์เรียนเกษตร สื่อมวลชน ตัวแทนประชาชน นักวิชาการด้านสังคมและสาธารณสุข และผู้ประกอบการในชุมชน เข้ามาร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน ทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกลั่นกรอง ขั้นกำหนดขอบเขตการศึกษา ขั้นประเมินผลกระทบ ขั้นทบทวนร่างรายงานและขั้นผลักดันข้อเสนอสู่การตัดสินใจใน โครงการความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบแบบปานกลาง (Intermediate HIA) พบว่ามีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ จากข้อมูลที่ได้มีความคุ้มค่าในการดำเนินการ เพราะจะช่วยลดสารเคมีที่จะเข้ามาในห่วงโซ่อาหารและยังเป็นการสร้างกลไกเข้ามาร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น และจัดระบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจัดทำแผนโครงการ กิจกรรมให้สนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความคุ้มค่ากับงบประมาณ และเป็นคามคุ้มค่าในการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนในพื้นที่ต่อพิษภัยสารเคมีที่มาจากกระบวน การผลิตอาหารที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเชื่อมโยงถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในสร้างให้ทุกคนเข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรในชุมชนเกี่ยวกับความเพียงพอ การเข้าถึง และความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง